ดูแนวโน้มกราฟด้วย Money Flow Index (MFI) อินดิเคเตอร์สำคัญอีกตัวที่เทรดเดอร์นิยมใช้

  Posted on 1 year ago (May 18, 2022)
2180
List of content
ดูแนวโน้มกราฟด้วย Money Flow Index (MFI) อินดิเคเตอร์สำคัญอีกตัวที่เทรดเดอร์นิยมใช้

พบกันอีกแล้วนะครับ กับบทความสาระดี ๆ เกี่ยวกับเครื่องมือในการช่วยทำกำไร ผมขอย้อนกลับไปก่อนที่เราจะเริ่มลงทุนในตลาดไหนก็แล้วแต่ คุณเคยสงสัยเหมือนกันกับผมไหมครับว่า การเคลื่อนที่ของราคาเกิดจากอะไร คำตอบในมุมของคนที่พอมีความรู้มาแล้วก็คงจะตอบได้ว่า "การเคลื่อนไหวของราคานั้น เกิดจากความต้องการของนักลงทุน" หรือที่เราเรียกว่า Demand & Supply หรือคนทั้ง 2 ฝ่าย ที่ต้องการซื้อ และอีกฝ่ายที่ต้องการขาย ซึ่งคำตอบนี้ก็ถือเป็นส่วนสำคัญต่อราคาสินทรัพย์ครับ

พอเราเข้าใจแล้วว่า การเคลื่อนที่ของราคาสินทรัพย์เกิดจากความต้องการซื้อและการต้องการขายในเวลาเดียวกัน คำถามในข้อต่อมาคือ เราจะทำอย่างไร? ถึงจะสามารถวัดปริมาณของ Demand & Supply นี้ได้ เพื่อที่จะนำข้อมูลนั้นมาปรับใช้ในการเทรดของเราให้เกิดประโยชน์สูงสุด

จากคำถามข้างต้นที่ผุดขึ้นมาในหัวเรา จึงเกิดการพัฒนา Indicator ขึ้นมาอีกมายเพื่อช่วยให้เราสามารถนำมาใช้วัดแน้วโน้มของราคาได้ หนึ่งในนั้นก็คือ Money Flow Index ที่เรากำลังจะพูดถึงในบทความนี้ครับ

Money Flow Index คืออะไร ?

Money Flow Index เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดข้อมูลของราคาและปริมาณ Volume เพื่อวัดแรงซื้อแรงขาย ไว้หาจุดกลับตัวของราคาได้เป็นอย่างดี หรือที่เข้าใจในทางภาษาเทรดเดอร์ว่า  เป็นเครื่องมือที่เอาไว้วัดอุปสงค์และอุปทานของสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อดู Money Flow การไหลเวียนของราคา และเครื่องมือนี้ยังเข้ามาแก้ปัญหาการหาโซน Demand & Supply ที่แต่ก่อนสามารถวัดได้ค่อนข้างยาก ซึ่งเครื่องมือนี้ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาโดย Gene Quong และ Avrum Soudack ครับ

การใช้เครื่องมือ Money Flow Index มาช่วยในการวิเคราะห์

พอเรารู้ความหมายคร่าวแล้วว่า มันคืออะไร ต่อมาเรามาดูวิธีการการใช้เครื่องมือ Money Flow Index (MFI) กันดีกว่าครับ ซึ่งเครื่องมือตัวนี้จะวิเคราะห์คล้ายกับ Indicator RSI แต่จะแตกต่างกันที่ Money Flow Index (MFI) มีปริมาณการซื้อขายเข้ามาคำนวณด้วย ซึ่งผู้คิดค้นเครื่องมือนี้ Gene Quong และ Avrum Soudack ได้พูดถึงการใช้เครื่องมือนี้ในการเทรดอยู่ 2 วิธีการ คือ

  1. Overbought/Oversold
  2. Divergence และ Failure Swings

1) การใช้ MFI ดูสัญญาณ Overbought/Oversold

ก่อนจะเข้าถึงรายละเอียดการดูสัญญาณ ผมขอแทรกความหมายของคำศัพท์ Overbought/Oversold ถ้าคุณยังไม่รู้ว่า มันหมายความว่าอะไร สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ที่ถูกแนบมานะครับ ส่วนวิธีการดูช่วงที่ MFI จะเข้าสู่ภาวะ Overbought/Oversold  เราจะดูข้อมูลเพื่อบ่งชี้ให้เห็นได้ว่า ราคาอยู่ในช่วง Extreme (ปลายแนวโน้ม) ซึ่งสัญญาณนี้มีโอกาสที่จะเปลี่ยนแนวโน้มได้ครับ โดยสามารถดูได้จาก 2 เงื่อนไข ดังนี้

- MFI ต่ำกว่าระดับ 20 เป็นภาวะ Oversold : ราคามีโอกาสกลับตัวขึ้น

- MFI สูงกว่าระดับ 80 เป็นภาวะ Overbought : ราคามีโอกาสกลับตัวลง

 

Money Flow Index Indicator

จากตัวอย่างกราฟด้านบน จะเห็นว่า ช่วงที่ MFI ขึ้นเหนือระดับ 80 เป็นภาวะ Overbought (โซนสีแดง) ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่า ราคาขึ้นมามากเกินไป มีโอกาสที่จะเกิดการพักตัวได้ และในช่วงที่ MFI ลงต่ำกว่าระดับ 20 เป็นภาวะ Oversold (โซนสีเขียว) เป็นสัญญาณเตือนว่า ราคาลงมามากเกินไป มีโอกาสฟื้นตัวได้ในอนาคตครับ

2) การใช้ MFI ดูสัญญาณ Divergence และ Failure Swings

Divergence และ Failure Swings หรือิธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือ สัญญาณที่อาจเกิดการกลับตัวของราคา โดย Bullish Failure Swings จะเป็นจังหวะที่ MFI ขึ้นสูงกว่าระดับ 80 ในรอบแรก แต่ในรอบที่สองไม่สามารถขึ้นสูงกว่าระดับ 80 ได้ และ MFI ได้ทำ Low ใหม่ ส่วน Bearish Failure Swings ก็เป็นจังหวะที่ MFI ลงต่ำกว่าระดับ 20 ในรอบแรก ส่วนในรอบที่สองกลับลงไม่ต่ำกว่าระดับ 20 และ MFI ได้ทำ High ใหม่

โดยการเกิด Divergence พร้อมกับ Failure Swings สามารถบ่งชี้ได้ถึงสัญญาณการกลับตัวของราคาได้ดีมาก ๆ เลยทีเดียวครับ เพื่อที่คุณจะได้เห็นภาพมากขึ้น สามารถดูรูปแบบสัญญาณได้ตามตัวอย่างข้างล่างนี้ครับ

 

Money Flow Index (MFI) Indicator

 

จากตัวอย่างข้างต้น เป็นการเกิดสัญญาณ Bearish Divergence และ Bearish Failure Swing โดยในเส้นสีชมพูแสดงให้เห็นว่า ราคาเกิดสัญญาณ Bearish Divergence กับ MFI ส่วนเส้นสีเหลืองเป็นการยืนยันรอบของ Bearish Failure Swing เป็นสัญญาณการเข้าสู่รอบขาลงครับ

สรุปการใช้งาน Indicator Money Flow Index

Money Flow Index เป็นการนำหลักการของโมเมนตัม และปริมาณการซื้อขายมาพิจารณา สูตรการคำนวณจะคล้ายกับ Indicator RSI แต่จะต่างกันที่ MFI ใช้ค่า Volume เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถใช้ในการจับจังหวะการเปลี่ยนแนวโน้มของราคาได้ดีกว่า โดยสามารถดูได้จาก Overbought/Oversold และ Divergence + Failure swing ซึ่งเทรดเดอร์สามารถนำเครื่องมืออื่น ๆ มาสร้างเป็นกลยุทธ์การเทรดเพิ่มเติม เพื่อเสริมประสิทธิภาพการใช้งานให้ดียิ่งขึ้นครับ

สุดท้ายนี้ ผมขอบอกว่า การใช้เครื่องมือ Indicator เข้ามาช่วยนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่การันตีว่า เราจะวิเคราะห์ถูก 100% แต่มันช่วยให้เราสามารถหาเทคนิคที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดอัตราการชนะตลาดให้สูงเท่าที่จะเป็นไปได้ และที่สำคัญเรื่องของการใช้ Indicator นั้น ไม่ได้ถูกจำกัดว่า ต้องใช้แค่เพียง 1 ตัว เท่านั้น เราสามารถนำ Indicator หลาย ๆ ตัวมาประยุกต์เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ร่วมกันได้ ถ้าคุณกลัวว่า การใช้ Indicator หลายตัวพร้อม ๆ กัน จะทำให้สับสน ผมมีเทคนิคในการเลือกใช้ Indicator หลายตัวพร้อม ๆ กัน ในบทความเดิมที่เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์เพิ่มเติมครับ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจเรื่องราวการลงทุนเหมือนกันกับเรา ก็หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากบทความนี้นะครับ ไว้พบกันใหม่ในบทความถัดไป สวัสดีครับ

Source: ทีม Forexlearning

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้ตามแหล่ง ดังต่อไปนี้ 

คอร์สเรียนสำหรับมือใหม่ ฟรี!! คลิกที่นี่

คลังบทความความรู้ทั่วไป คลิกที่นี่

โบรกเกอร์สำหรับมือใหม่ คลิกที่นี่ 

บทวิเคราะห์รายวัน คลิกที่นี่


บทความ แนะนำ
คอร์สเรียน Forex ยอดนิยม