บทความนี้จะพาไปสำรวจ Indicator ที่ได้ชื่อว่า เป็น Indicator ที่นิยมอย่างมากที่สุดใน Forex ซึ่งจะบอกว่ามี Indicator ตัวไหนที่เป็นที่นิยมบ้าง และยังบอกถึงวิธีการใช้ที่ถูกต้องและเป็นมาตรฐานอีกด้วย แล้ว Indicator ที่ว่านั้น จะมีตัวไหนบ้าง ไปดูกันเลย
1. Moving Average (MA)
Moving Average (MA) หรือที่เรียกว่า เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็น Indicator ที่ได้รับความนิยมสูงสุด มีลักษณะเป็นเส้นที่เคลื่อนไหวตามราคาหุ้น หรือ ดัชนี ซึ่งเป็น Indicator ที่เป็นการนำราคาที่มีความผันผวนของแต่ล่ะวันมาหาค่าเฉลี่ย โดยการใช้ข้อมูลย้อนหลัง ตามช่วงเวลาที่ผู้ใช้งานกำหนด (Period) ซึ่งเป็นเครื่องมือ อินดิเคเตอร์ใช้งานง่าย และนักลงทุนนิยมใช้ โดยจะแสดงเป็นเส้นเรียบ (Smooth) ในกราฟ เพื่อให้ดูง่ายและสะดวกต่อการใช้บอกแนวโน้ม (Trend) ของตลาดที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร เพื่อใช้เป็นแนวทางคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตว่าควรจะไปทางไหน อีกทั้งยังสามารถใช้บอกแนวรับ แนวต้านของตลาดหุ้นหรือค่าเงิน รวมทั้งจุดซื้อ ขายเบื้องต้นได้ด้วย และในปัจจุบัน เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) ได้มีการพัฒนาต่อยอดแตกแขนงออกมาหลากหลายประเภท เช่น Simple Moving Average (SMA), Exponential Moving Average (EMA), Weighted Moving Average (WMA) เป็นต้น
การใช้ Moving Average จะช่วยลดความสับสนที่จะเกิดขึ้นในการเทรด และสามารถเลือกกำหนดค่า Moving Average แบบ 20 วัน 50 วัน 100 วัน และ 200 วัน ได้อีกด้วย
Moving Average (MA) ใช้ยังไง ?
ใช้ข้อมูลของราคาหุ้นย้อนหลังตามที่ระยะเวลาที่เรากำหนด เช่น ถ้าเราสนใจค่าของ Moving Average ระยะเวลาย้อนหลัง 5 วัน เราจะใช้ราคาหุ้น 5 วันย้อนหลังนับจากวันปัจจุบัน มาคำนวณด้วยสูตรของค่าเฉลี่ยประเภทที่เราสนใจ
Moving Average ทุกประเภทจะใช้หลักการเดียวกัน คือ การหาค่าเฉลี่ยของราคา แล้วนำมาวาดเป็นกราฟเส้น แต่สิ่งที่แตกต่างกันของ Moving Average แต่ละประเภ คือ การให้น้ำหนักของข้อมูลแต่ละตัวที่แตกต่างกันก่อนนำมาคำนวณค่าเฉลี่ย
วิธีการอ่านสัญญาณซื้อ/ขาย จาก Moving Averge (MA)
- สัญญาณซื้อ (Buy Signal) เกิดขึ้นเมื่อ ราคาหุ้น หรือ ดัชนี อยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
- สัญญาณขาย (Sell Signal) เกิดขึ้นเมื่อ ราคาหุ้น หรือ ดัชนี อยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
กราฟจาก TradingView : Moving Average 20/50/100/200 ; Timeframe 4h
สำหรับประโยชน์ของ MA นั้นส่วนใหญ่แล้วจะใช้เพื่อดูพฤติกรรมของตลาดที่ผ่านมาในอดีตว่าเป็นอย่างไร และยังใช้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการคาดการณ์ทิศทางของตลาดในอนาคตว่าจะไปในทิศทางไหน อีกทั้งยังสามารถเพื่อใช้บอกแนวรับและแนวต้านของตลาด หรือชี้จุดซื้อและขายเบื้องต้นของตลาดได้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ตัวชี้วัดนี้ก็มีข้อควรระวังอยู่บ้าง เนื่องจากปกติแล้วหากตลาดกำลังอยู่ในสภาวะที่ราคาไม่มีทิศทางที่แน่นอน หรือ เคลื่อนที่ในกรอบแคบ ๆ การใช้ MA กลับกลายเป็นมีข้อเสียมากกว่า เนื่องจากบ่อยครั้งที่สัญญาณที่ได้จะกลายเป็นสัญญาณหลอกแทน
2. Stochastic Oscillator
Stochastic Oscillator เป็นตัวชี้วัดโมเมนตัมที่นิยมใช้กันอย่างมาก โดยถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นทศวรรษ 1950 สำหรับหลักการทำงานของมันก็คือการบอกว่าราคามีการเปลี่ยนแปลงคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งความอ่อนไหวของ Stochastic จะเป็นตัวแสดงความอ่อนไหวของตลาดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่เรากำหนด เช่น ถ้าเราตั้งค่า Stochastic 8 นั่นก็คือ เวลาที่เรากำหนดคือกรอบ 8 แท่งของแท่งเทียน หรือแท่งราคา ซึ่งผลของการคำนวณจะออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับจำนวนแท่งที่ใช้ในการคำนวณทั้งหมด
กราฟจาก TradingView : Stochastic Oscillator ; Timeframe 4h
Stochastic Oscillator จะถูกผูกไว้กับช่วงเวลา ซึ่งหมายความว่าจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 100 เสมอ ซึ่งนี่ทำให้มันเป็นตัวบ่งชี้ที่มีประโยชน์ในการระบุ Overbought Oversold โดยหากอ่านค่าได้มากกว่า 80 ถือว่าอยู่ในช่วง overbought ซื้อเกิน และการอ่านที่ต่ำกว่า 20 ถือว่าเป็น Oversold อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ได้บ่งบอกถึงการกลับตัวที่จะเกิดขึ้นเสมอไป แนวโน้มที่แข็งแกร่งสามารถรักษาสภาพการซื้อเกินหรือขายเกินได้เป็นระยะเวลานาน ในทางกลับกัน นักเทรดควรมองหาการเปลี่ยนแปลงใน สโตแคสติก ออสซิลเลเตอร์ เพื่อหาการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มในอนาคต
3. Bollinger Bands (BB)
Bollinger Bands (BB) เป็น 1 ในเครื่องมือ Technical analysis ที่โด่งดัง ถูกคิดค้นโดยนาย John Bollinger หลายคนจะรู้จักว่าเป็นเครื่องมือที่ไว้วัดความผันผวนของราคาได้รับความนิยมไปอย่างแพร่หลายในการเทรด Forex เนื่องจากประโยชน์ที่หลากหลายและสามารถพลิกแพลงเทคนิคให้แปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องบอกเลยว่าเป็น Indicator ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบการเทรด และในหลากหลายสินค้าการเทรด ไม่ว่าจะใช้ดูหุ้น, ทองคำ, Index, น้ำมัน และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งทำให้ Bollinger Bands เป็นที่นิยมในหมู่นักเทรดเดอร์ทั่วโลก
กราฟจาก TradingView : Bollinger Bands 20 ; Timeframe 4h
วิธีการใช้ Bollinger Bands (BB)
1. ใช้หาแนวโน้มของกราฟราคาได้ว่าจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางใด
- ลักษณะแนวโน้มขาขึ้น กราฟราคาจะวิ่งอยู่ใน เส้นขอบบนและเส้นตรง
- ลักษณะแนวโน้มขาลง กราฟราคาจะวิ่งอยู่ใน เส้นขอบล่างและเส้นตรงกลาง
2. ใช้วัดความผันผวนของคู่เงิน ว่าคู่เงินมีความผันผวนมากน้อยแค่ไหน
- ถ้าคู่เงินนั้นมีความผันผวนมาก Indicator Bollinger Bands ทั้ง 3 เส้น จะถ่างออกห่างกันมาก
- ถ้าคู่เงินนั้นมีความผันผวนน้อย Indicator Bollinger Bands ทั้ง 3 เส้น จะอยู่ใกล้กัน
3. ใช้ดู Overbought Oversold เพื่อหาว่าตอนนี้ราคาแพงเกินไป หรือถูกเกินไป
- โซน Overbought หรือ โซนที่มีปริมาณการซื้อมากเกินไป กราฟราคาจะขึ้นไป ทะลุเส้น Upper Band
- โซน Oversold หรือ โซนที่มีปริมาณการขายมากเกินไป กราฟราคาจะลงมา ทะลุเส้น Lower Band
4. Relative Strength Index (RSI)
Relative Strenght Index (RSI) เป็นอีกอินดิเคเตอร์หนึ่งที่นักลงทุนทั่วโลกนิยมใช้งานกัน ที่แม่นยำที่สุดตัวหนึ่ง จัดอยู่ในหมวด Indicator เป็นเครื่องมือชี้วัดทางเทคนิคประเภท Momentum เป็นอัตราส่วนของราคาปิดที่สูงขึ้นและต่ำลง หลัก ๆ ไว้วัดความแข็งแกร่งของราคา RSI นั้นได้รับการพัฒนา โดน J. Welles Wilder ในปี 1978 และยังได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดว่าราคามีภาวะการซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือภาวะการขายมากเกินไป (Oversold) โดยมีค่าตั้งแต่ 0-100 Relative Strength Index (RSI) เป็นที่นิยมในทุกตลาด รวมถึงตลาดของสกุลเงินดิจิทัลด้วย ซึ่งเหมาะสำหรับการเริ่มต้นเรียนรู้ด้านการวิเคราะห์ทางเทคนิค