Bollinger Bands คืออะไร?

  Posted on 2 years ago (Apr 21, 2022)
2420
List of content
Bollinger Bands คืออะไร?

Bollinger Bands คืออะไร?

Bollinger Bands เป็นอีกหนึ่งอินดิเคเตอร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้ดูเทรนและการกลับตัวเป็นหลัก บ่งบอกถึงความต่อเนื่อง และการเคลื่อนที่ของราคา นักเทคนิคโดยส่วนใหญ่จะนิยมใช้วิเคราะห์ในกราฟระยะสั้น ๆ เช่น รายชั่วโมง หรือรายวัน ผู้ที่คิดค้นคือ John Bollinger ซึ่งเป็นนักเทรดสายเทคนิคคอล โดย Bollinger Bands นั้น ได้พัฒนาและต่อยอดมาจากการใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ (Moving Average Envelopes)
 

รูปลักษณ์ของ Bollinger Bands

ซึ่งรูปลักษณ์ของ Bollinger Bands จะประกอบด้วย 3 เส้น คือ
1) เส้นบน = Upper Band (BB Top)
2) เส้นกลาง = Middle Band (BB Average)
3) และเส้นล่าง  = Lower Band (BB Bottom)
เมื่อเส้นทั้ง 3 นี้ทำงานร่วมกันบนกราฟแล้ว ภาพที่ออกมาก็จะคล้าย ๆ ตัวหนอน
 

การตั้งค่าการใช้งาน

สำหรับการตั้งค่าใช้งานโดยปกติจะนิยมใช้ตามค่าเริ่มต้นที่ให้มา คือ กำหนด Period ไว้ที่ 20 ตามรูปตัวอย่าง
 
Bollinger Bands setting

 

ประโยชน์และการใช้งาน Bollinger Bands

1. ใช้วัดความผันผวนของตลาด

Bollinger Bands สามารถบอกเราให้ทราบว่า สถานะของตลาดเป็นยังไง กำลังคึกคัก หรืออยู่ในช่วงเงียบซบเซา โดยให้ดูจากเส้น คือ ถ้าเส้นมีลักษณะบีบชิดเข้าหากัน แบบแคบ ๆ  นั้น หมายถึงตลาดกำลังเงียบ หรืออยู่ในช่วงซบเซาอยู่ แต่ถ้าเส้นแยกออกจากกัน แล้วอยู่ห่าง ๆ กันเมื่อไหร่นั้นหมายถึง ตลาดมีความคึกคัก บ่งบอกว่า มีนักลงทุนกำลังมีการซื้อ-ขาย กันเป็นจำนวนมากนั่นเอง      
 
วัดความผันผวนของตลาด
 

2. ใช้เป็นแนวรับและแนวต้าน

Bollinger Bands ที่ประกอบกันด้วย 3 เส้นนั้น จะเคลื่อนที่ไปตามแนวโน้มของราคา โดยมีหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้
- เส้นบน หรือ Upper Band = ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน
- เส้นกลาง หรือ Middle Band = ทำหน้าที่เป็นทั้งแนวรับและแนวต้าน
- และเส้นล่าง หรือ Lower Band = ทำหน้าที่เป็นแนวรับ
 
เป็นแนวรับและแนวต้าน
 

3.ใช้หาแนวโน้มของราคา

เราสามารถนำ Bollinger Bands มาใช้เพื่อหาแนวโน้มของราคา ดังนี้
- แนวโน้มขาขึ้น = ลักษณะของราคาจะอยู่บริเวณเส้นขอบบน และไม่ค่อยจะทะลุเส้นขอบกลางลงไปได้
- แนวโน้มขาลง = ลักษณะของราคาจะอยู่บริเวณเส้นขอบล่าง และไม่ค่อยจะทะลุเส้นขอบกลางขึ้นไป
- แนวโน้ม Sideway = เมื่อราคาเพิ่มขึ้นจนถึงเส้นขอบบน แล้วเกิดการกลับตัวเปลี่ยนจากขึ้นเป็นลง นั้นหมายถึงแนวโน้มราคากำลังจะลง (เป็นสัญญาณขาย)
- ในทางกลับกัน ราคาที่ลดลงจนชนเส้นกรอบด้านล่าง จากนั้นเกิดการกลับตัว เปลี่ยนจากลงเป็นขึ้น นั้นหมายถึง แนวโน้มราคากำลังจะขึ้น (เป็นสัญญาณซื้อ)   
 
ตัวอย่าง ใช้ Bollinger Bands หาแนวโน้มขาขึ้น    
 
การอ่านเทรนด์ขาขึ้น
 
ตัวอย่าง ใช้ Bollinger Bands หาแนวโน้มขาลง  
 
การอ่านเทรนด์ขาลง
 
ตัวอย่าง แนวโน้ม Sideways  
 
การอ่านแนวโน้ม Sideway
 

4.ใช้ดู Overbought, Oversold (ซื้อ หรือขายมากเกินไป)

กรณีใช้ดูการซื้อหรือขายที่มากเกินไปนั้นก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก เพียงแค่ดูจากเส้นก็เข้าใจได้โดยง่าย วิธีการดู หรือแปลความหมาย คือ เส้นขอบบน (Upper Band) หมายถึง การซื้อที่มากเกินไป เส้นขอบล่าง (Lower Band) หมายถึง การขายที่มากเกินไป ฉะนั้น เส้นขอบกลาง (Middle Band) ก็คือการซื้อ หรือขายที่อยู่ในระดับปานกลาง หรือเท่าเทียมกันนั่นเอง
 
การดู Overbought Oversold
 

5.ใช้เทรดด้วยกลยุทธ์แบบ Breakout

การเทรดด้วยกลยุทธ์แบบ Breakout คือ การเข้าเทรดทันที เมื่อราคาเกิดการทะลุแนวต้าน หรือแนวรับ โดย Bollinger Bands สามารถนำมาใช้ได้ในทุกสภาวะของตลาด ไม่ว่าจะช่วงขาขึ้น ขาลง หรือไซด์เวย์ แต่การนำไปใช้ในตลาดที่แตกต่างกันก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนบางกลยุทธ์ หรือเทคนิค เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ของตลาดในปัจจุบัน การใช้งานนั้นก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก เพียงแค่ดูราคาที่มันทะลุ แล้วก็เข้าเทรดตาม แนวโน้ม หรือภาวะของตลาดที่กำลังเป็นอยู่ 
 
การหาจุดเข้าออเดอร์
 
ตามตัวอย่างจะเห็นว่า เมื่อตลาดเงียบ ความผันผวนจะต่ำทำให้เส้น Bollinger bands บีบตัวเข้าหากัน จากการที่บีบตัวเข้าหากันมาก ๆ ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการหาจุดทะลุแนวรับ หรือแนวต้าน (Breakouts) ในการเข้าเทรดตามกลยุทธ์ Breakout
 

สรุป

Bollinger Bands เป็นอินดิเคเตอร์ที่บอกถึงแนวโน้มของเทรนด์ และสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้ม แถมยังเป็นอินดิเคเตอร์ที่นิยม และใช้งานได้ง่าย และมีประสิทธิภาพ หากอยากเพิ่มประสิทธิภาพของ Bollinger Bands ควรใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์ตัวอื่น ๆ อย่างเช่น Commodity Channel Index (CCI), Relativa Strength Index (RSI), Oscillators (OCT) เพราะบางจังหวะ หรือบางสถานการณ์ ใช้แค่ Bollinger Bands เพียงอย่างเดียว ก็ไม่สามารถที่จะยืนยันสัญญาณที่แน่นอนได้ อย่างไรก็ตาม ก็ควรที่จะศึกษาอินดิเคเตอร์ตัวอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อที่จะสามารถใช้แทนที่ตัวอื่น ๆ ในช่วงเวลาที่สถานการณ์ของตลาดเปลี่ยนไป

 
Source: Fidelity
 
 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมดังนี้

คอร์สเรียนสำหรับมือใหม่ ฟรี!! : คลิกที่นี่

คลังบทความความรู้เพิ่มเติม : คลิกที่นี่

บทความรีวิวโบกเกอร์เพิ่มเติม : คลิกที่นี่

บทวิเคราะห์รายวัน : คลิกที่นี่


บทความ แนะนำ
คอร์สเรียน Forex ยอดนิยม