การวิเคราะห์หลาย Time Frame

  Posted on 4 years ago (Jan 26, 2020)
5256
List of content
การวิเคราะห์หลาย Time Frame

ในการเทรด Forex เครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่างสูงคือ เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค อย่างไรก็ตามปัญหาในการวิเคราะห์ และการตัดสินใจในการเทรด Forex นั้นไม่ได้ง่ายและแม่นยำเหมือนจับวาง ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นจากพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคานั้น  ตัวอย่างที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ได้แก่ พอไปดู  Time Frame 1 ชั่วโมงเป็นขาลงและยังไม่สุดดี ราคาพลิกกลับดีดขึ้นอย่างรวดเร็ว พอกลับไปดู Time Frame 4 ชั่วโมงแล้วปรากฏว่ามันคือขาขึ้น เราก็บอกว่า อ๋อออออออ!!! เป็นเพราะว่า Time Frame ใหญ่กว่านี่เอง ทำให้เราพลาดโอกาสนั้น

 

วิเคราะห์ขึ้นหรือวิเคราะห์ลงดี

ในการวิเคราะห์หลาย Time Frame ปัญหาอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ จะใช้ Time frame ใหญ่เป็นหลัก หรือ Time Frame เล็กเป็นหลักดีหล่ะ เรื่องนี้จริง ๆ แล้วไม่มีวิธีการไหนที่ผิดและถูกในการวิเคราะห์ Time Frame ใหญ่ไปหาเล็ก หรือ วิเคราะห์ Time Frame เล็กไปหาใหญ่ แน่นอนว่า มันไม่มีรูปแบบที่ตายตัว บางครั้งบางสถานการณ์ต้องใช้ Time Frame เล็ก แต่บางสถานการณ์ต้องใช้ Time Frame ใหญ่เป็นหลัก หลายคนเถียงว่าไม่จริง ผมคงต้องบอกว่า นั่นเพราะว่าบางคนยึดโยงกับ Time Frame ใหญ่ที่ส่งอิทธิพลมา แล้วถ้าพูดจากำปั้นทุบดินแบบผมนี่จะให้ใช้ยังไงดีหล่ะ ใจเย็น ๆ วิธีการใช้คือ

 

ต้องดูว่า เทรนด์เกิด Time Frame ไหน เพราะว่า บางครั้งเทรนด์ไม่ได้เกิด Time Frame ใหญ่ การใช้ Time Frame ใหญ่เป็นตัวนำจึงผิดอย่างไรหล่ะ สิ่งที่เราควรจะจับให้ได้คือ Trend เกิดที่ Time Frame ไหน ซึ่งเทรนด์ไม่เหมือน Side way จะต้องจับให้ได้ก่อน บางครั้ง Trend เกิดขึ้นแต่เราจับสัญญาณ Side Way ทำให้เราคิดว่าจะมีการกลับตัว

วิเคราะห์เครื่องมือให้ถูก – บางครั้งเทรนด์เกิดขึ้นใน Time Frame Daily แต่ว่าพอไปดูสัญญาณ Weekly แล้วกลับกลายเป็นแค่กรอบ Side Way แคบ ๆ เท่านั้นเอง การดู Time Frame ใหญ่หรือเล็กจึงควรดู Trend ว่าเกิด Time Frame ไหนเป็นหลัก

 

 

แล้วควรดูกี่ Time Frame ดี

หลายคนบอกว่า ต้องดูหลาย ๆ Time Frame แต่ว่าสำหรับผม ผมดูทุก Time Frame แม้ว่าเราจะเทรด 1 ชั่วโมง เราก็ต้องดูกราฟ 5 นาทีด้วยว่า นี่เป็นกราฟที่ราคาถูกที่สุดหรือไม่ หรือว่าถูกได้อีกโดยการดูจังหวะหลาย ๆ Time Frame ประกอบกัน สำหรับแล้วผมใช้ 4 Time Frame เป็นอย่างน้อยเพื่อยืนยันความสอดคล้องกัน โดยเราต้องตั้งค่าบนหน้าจอเพื่อที่จะดูได้ในรวดเดียว ดังตัวอย่างต่อไปนี้


จากรูปข้างต้นผมใช้กราฟ 4 กราฟ สำหรับ AU บนขวาคือกราฟ Daily ล่างขวา คือกราฟ Weekly และบนซ้ายคือกราฟ 1 ชั่วโมงและล่างซ้ายคือกราฟ 4 ชั่วโมง สำหรับผม ผมจะส่งสัญญาณเทรดที่กราฟ 4 ชั่วโมง แต่ผมก็ดูกราฟ Time Frame อื่นด้วย โดย Function การตั้งค่าหน้าจอแบบนี้ เพื่อให้สะดวกต่อการเทรดแบบนี้ มีอยู่ใน MT4 อยู่แล้ว

การใช้กราฟ หลาย Time Frame จจจะต้องใช้ indicator ชุดเดียวกัน เพื่อที่จะสะท้อนความต่างของมุมมองได้ชัดแจ้งมากที่สุด ทำให้เราไม่พลาดง่าย ๆ โดยไม่ดูตามาตาเรือ และตัดสินใจเทรดได้อย่างแม่นยำทุกจุดมากยิ่งขึ้น

เทคนิดง่าย ๆ แค่นี้อาจจะช่วยเสริมเขี้ยวเล็บฝึกการตัดสินใจได้ดีกว่าการใส่ indicator ที่เทพ ๆ เป็นไหน ๆ ครับ  อย่างไรก็ตามนี่ก็เป็นแค่จุดหนึ่ง ที่จะต้องเสริมคือ ข้ออ่อนของมัน

 

จุดอ่อนของมัน

ในสมัยก่อนที่ผมแชร์เทคนิคนี้ให้เพื่อนที่เทรดด้วยกัน เขาบอกว่า มันทำให้งงและสับสนได้ง่ายว่า จะขึ้นหรือจะลง บ่อยครั้งที่เทรดเดอร์จะต้องมาเจอปัญหา ความสับสนทำให้ตัดสินใจได้ลำบากว่า ควรตะเชื่อข้อมูลจากทางไหนดี  ทางกราฟ Weekly บอกว่าจะลงต่อ แต่ทางกราฟ Daily บอกว่ากลับตัวมาได้ 2 – 3 วันแล้ว ทางกราฟ  4 ชั่วโมงก็ทำท่าจะลง เพราะขึ้นมาเยอะแล้ว อะไรทำนองนั้น นั่นเป็นปัญหาที่ต้องบอกว่าเจอกันทุกคน ซึ่งจุดอ่อนนี้สามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ คือ

 

การใช้เวลาฝึกฝนดูกราฟ มันจะเข้ามาในความทรงจำของคุณอย่างค่อยเป็นค่อยไปและใช้เวลา แต่ว่ามันสามารถแก้ไขจุดอ่อนได้ดี บางครั้งเราอาจจะต้องใช้เวลาหลายปีในการเก็บภาพรูปแบบกราฟเหล่านั้น  ก็ตลอดชีวิตของการเทรดของเรานั่นแหละครับ  นอกจากการฝึกฝนดูกราฟบ่อย ๆ แล้ว สิ่งที่ต้องทำอีกอย่างคือ การไม่ดูกราฟมาก การดูกราฟบ่อย ๆ กับดูกราฟมากนั้นเป็นคนละเรื่อง การดูกราฟ 4 Time Frame นั้น เป็นเรื่องของความรู้สึกและสัญชาตญาณเป็นหลัก เพื่อให้ชินกับการใช้งาน เราต้องดูแล้วตัดสินใจเลย ไม่ใช่มัวแต่คิดพิจารณา นั่งเฝ้าหน้าจอ อย่างนั้นเรียกว่า overtrade เสพติดการเทรดครับ


บทความ แนะนำ
คอร์สเรียน Forex ยอดนิยม